กลุ่มอาชีพ

กลุ่มจักสานเครือเถาวัลย์ ม.8

ส่งเสริมอาชีพชุมชน พัฒนา ‘เถาวัลย์’ วัชพืชธรรมดา สู่งาน ‘จักสาน’ ที่สร้างสรรค์

ผลลัพธ์

ผลิตภัณฑ์จากเครือเถาวัลย์ หมู่บ้านทรายใต้ หมู่ที่  8 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาคนให้มีความรู้ ส่งเสริมทักษะอาชีพ สร้างรายได้ อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้อยู่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

โดยชุมชนบ้านทรายใต้ มีการประกอบอาชีพสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากเครือเถาวัลย์ ที่ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเถาวัลย์มาถักสานเป็นของใช้ ของประดับตกแต่ง  อย่างเช่น ตะกร้า จักรยานใส่กระถางดอกไม้ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและขายเป็นสินค้าสร้างรายได้

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากเครือเถาวัลย์  มีเอกลักษณ์งดงามเฉพาะตัว แตกต่างจากงานจักสานประเภทอื่น ๆ โดดเด่นที่ลวดลาย และความแข็งแรง มีรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ความชาญฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบ และความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำเป็นรูปทรงต่างๆ

 

กลุ่มครกหินไร่ศิลาทอง

เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านไร่ศิลาทองโดยมีผู้ที่คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นเป็นคนแรกนามว่าพ่อหนานแก้วมา ใจงาม ในราวปี พ.ศ.2500 คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นของหมู่บ้าน กับการเจาะครกหิน “บ้านไร่ศิลาทอง”หมายเป็นหมู่บ้านที่ถูกตั้งขึ้น

การประกอบอาชีพเริ่มแรกมีการปั้นหม้อขาย โดยพ่อหนานขัด ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ริเริ่มการปั้นหม้อคนแรกของหมู่บ้านพร้อมกับการทำการเกษตร จนมาถึงปี พ.ศ.2500 มีพ่อหนานแก้วมา ใจงาม แต่เดิมเคยเป็นพระภิกษุ ได้ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดชลบุรีเห็นการทำครกหินของชาวอ่างศิลาจึงได้เริ่มประกอบอาชีพเจาะครกหินเป็นของคนแรกของหมู่บ้านเนื่องจากเห็นว่าวัตถุดิบในหมู่บ้านมีอยู่แล้ว เพราะหมู่บ้านติดกับภูเขา และได้นำความรู้การทำครกหินเผยแพร่ให้กับชาวบ้านชาวบ้านจึงประกอบอาชีพการทำครกหินมากขึ้น แต่ก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรมควบคู่กันไป

เป้าหมาย

  • สร้างอาชีพให้กับสมาชิกในหมู่บ้าน
  • สร้างรายได้จากการประกอบอาชีพทำครกหินให้กับสมาชิกในหมู่บ้าน
  • เกิดการจัดตั้งกลุ่มเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนกลุ่มเจาะครกหิน

 

กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษสา ม.5

เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างรายได้ให้สมาชิก
  • เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชน
  • ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการเสียสละแก่ส่วนรวม
  • ให้สมาชิกมีความสามัคคี ให้สมาชิกรู้จักการดำเนินงานเชิงธุรกิจ
  • เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

กลุ่มปลูกผักอินทรีย์

            เนื่องด้วยที่บ้านวังชัยพัฒนาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ สารเคมี และเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนได้รับประทานผักปลอดสาร ไม่ส่งผลต่อเกิดโรคการสะสมสารเคมีในร่างกาย จึงมีการจัดตั้งกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารเคมีขึ้น

เป้าหมาย

  • เพื่อให้สมาชิก ประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์มากขึ้น
  • เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในครอบครัว
  • เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น
  • ส่งเสริมอาชีพและรายได้

         

กลุ่มเลี้ยงโคขุน บ้านใหม่พัฒนา

เนื่องด้วยชาวบ้านได้ดำเนินการเลี้ยงโคขุนจำหน่าย จึงได้จัดทำกลุ่มอาชีพเลี้ยงโคขุนขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก

เป้าหมาย

  • ส่งเริมรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่ม
  • ทำให้สมาชิกกลุ่มเกิดการพัฒนาอาชีพ พัฒนาความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ
  • ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดอัตราการว่างงานของคนในชุมชน

 

กลุ่มเห็ดฟาง บ้านต้นต้อง

  

 

 

กลุ่มผลิตภัณฑ์ฝีมือจากไม้ไผ่บ้านไร่ศิลาทอง

เป้าหมาย

  • การเพิ่มรายได้ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
  • การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
  • การลดรายจ่ายของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
  • การเพิ่มความรู้ ความสามารถ และทักษะของสมาชิก
  • การลดต้นทุนในการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆของวิสาหกิจชุมชน

 

กลุ่มผ้าห่มนวม บ้านต้นต้อง

เป้าหมาย

  • การรวมกลุ่ม เกิดจากแนวความคิดมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่แก้ปัญหาที่ชาวบ้านในชุมชนไปทำงานที่อื่น
  • มีรายได้เสริม
  • การสร้างความอบอุ่นในครัวครัวทำให้คนในชุมชนตระหนัก รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกลุ่มร่วมกันรักและหวงแหนในภูมิปัญญา
  • ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลังมีการสืบทอดภูมิปัญญาการเย็บผ้าให้กับเยาวชน และคนในชุมชนสมาชิกกลุ่ม
  • มีการจัดกิจกรรมต่างๆ รวมกับชุมชนเสมอ

 

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพิชัย

          จัดตั้งขึ้น วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 องค์กรที่สนับสนุนการจัดตั้ง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปางและองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จำนวนสมาชิกแรกตั้ง        683 คน สมาชิกสะสมถึงปัจจุบัน 3,339 คน จำนวนสมาชิกคงเหลือ (หักตาย ลาออกและพ้นสภาพการเป็นสมาชิก) ปัจจุบัน 2,337 คน

 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่ม/กองทุน

  1. เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามปกติสุข  และในยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเสียชีวิต
  2. เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันออมเงินจากการลดค่าใช้จ่าย วันละ  1  บาท
  3. เพื่อสร้างกระบวนการ  การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระหว่างชาวบ้านกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หน่วยงาน  และ  องค์กรอื่นๆ
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายและเกิดความเชื่อมโยงกับกองทุนต่างๆในชุมชน

 

กลุ่มแม่บ้านตัดเย็บเสื้อผ้า มทบ.32

            เกิดการรวมกลุ่มแม่บ้านทหารกับประชาชนในหมู่บ้านที่มีความรู้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าและมีความชอบในการตัดเย็บเสื้อผ้า โดยใช้เวลาว่างจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง มารวมกลุ่มกัน โดยริเริ่มจากการตัดเย็บเสื้อผ้าใช้กันเองจนเกิดการเผยแพร่ออกไปสู่ภายนอก ทำให้เกิดการจ้างเย็บผ้าให้กับทหาร ประชาชนที่สนใจ จนก่อให้เกิดรายได้ของกลุ่ม

เป้าหมาย

  • สนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในกลุ่ม
  • ส่งเสริมความรู้ความสามารถให้แก่สมาชิกในกลุ่ม